การคัดเลือกรางวัลอาจารย์/นักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2567
ที่มาของโครงการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้สนับสนุนให้อาจารย์และบุคลากรเผยแพร่ผลงานวิชาการ และได้มีการพิจารณาแนวทางการมอบรางวัลนักวิจัยดีเด่น ซึ่งคัดเลือกอาจารย์และบุคลากรที่มีคุณสมบัติเพื่อรับรางวัลนักวิจัยดีเด่นขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อมอบให้เป็นเกียรติแก่อาจารย์/นักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่มีศักยภาพและมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ตลอดจนเป็นผู้มีจรรยาบรรณ และอุทิศตนเพื่องานวิจัยที่รับผิดชอบอย่างจริงจัง จนเป็นที่ปรากฏกล่าวขวัญหรือยอมรับกันใน วงวิชาการทั่วไป ตลอดจนเพื่อเป็นการให้กำลังใจแก่อาจารย์/นักวิจัยดีเด่นในการทำงานวิจัยอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
เป้าหมาย
เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการและ มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
คุณสมบัติของบุคคลผู้มีสิทธิ์ได้รับการเสนอชื่อ
- เป็นบุคลากรสายวิชาการหรือสายสนับสนุนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
- ต้องไม่เคยเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลนักวิจัย หรือรางวัลที่เกี่ยวข้องในระดับคณะ หรือระดับมหาวิทยาลัยขึ้นไป ยกเว้นผู้ที่เคยได้รับรางวัลมาแล้ว 5 ปีขึ้นไป
- เป็นผู้ที่มีจรรยาบรรณและมีคุณธรรม
เกณฑ์ผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการ
- เป็นผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการ ที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลที่ ก.พ.อ. กำหนด ได้แก่
- ฐานข้อมูลระดับชาติ ได้แก่ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation - TCI) เฉพาะวารสารที่มีชื่ออยู่ในกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2
- ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ได้แก่ ERIC, MathSciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI, และ AHCI เท่านั้น), JSTOR และ Project Muse (อ้างอิงจาก ราชกิจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 151 ลงวันที่ 12 มิ.ย.62)
- ผลงานที่เสนอขอรับรางวัลนักวิจัยดีเด่น ต้องได้รับการเผยแพร่มาแล้วไม่เกิน 5 ปีและไม่เป็นผลงานวิจัยที่ใช้สำหรับการสำเร็จการศึกษา
- ผลงานวิจัยที่ยื่นขอพิจารณารับรางวัลนักวิจัยดีเด่น ต้องปรากฎชื่อผู้เสนอขอรับรางวัล ที่ระบุสังกัดในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เท่านั้น
- กรณีผู้วิจัยมีผลงานร่วมกันในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา และยื่นขอพิจารณาพร้อมกัน ต้องระบุสัดส่วนของผลงานให้ชัดเจน
ประเภทของรางวัล
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- รางวัลนักวิจัยดีเด่นที่มีการเผยแพร่ผลงานในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ (5 รางวัล)
- รางวัลนักวิจัยดีเด่นที่มีการเผยแพร่ผลงานในวารสารทางวิชาการระดับชาติ (5 รางวัล)
เกณฑ์การให้คะแนน
- ประเภทรางวัลนักวิจัยดีเด่นที่มีการเผยแพร่ผลงานในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ ตามเกณฑ์ ก.พ.อ นับบทความละ 1 คะแนน
- ประเภทรางวัลนักวิจัยดีเด่นที่มีการเผยแพร่ผลงานในวารสารทางวิชาการระดับชาติ
- บทความที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 นับบทความละ 0.8 คะแนน
- บทความที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 นับบทความละ 0.6 คะแนน
หมายเหตุ ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการพิจารณาการตัดสิน และการตัดสินของคณะกรรมการพิจารณา ถือเป็นที่สิ้นสุด
การให้รางวัล
ประกาศผลรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดสรรให้ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2567 (ภายในวันที่ 30 กันยายน 2567)
การเสนอชื่อรับรางวัล
- อาจารย์ นักวิจัยและบุคลากร กรอกข้อมูลเสนอชื่ออาจารย์ นักวิจัยและบุคลากร ผู้สมควรเข้ารับรางวัลผ่านระบบออนไลน์ เท่านั้น (พื้นที่เชียงใหม่)Link สำหรับเสนอชื่อ
- อาจารย์ นักวิจัยและบุคลากร กรอกข้อมูลเสนอชื่อหน่วยเข้ารับรางวัลผ่านระบบออนไลน์ และจัดทำหนังสือผ่านรองคณบดีเขตพื้นที่ เท่านั้น (พื้นที่เชียงราย ลำปาง ตาก น่าน และพิษณุโลก)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
>> ฝ่ายงานวิจัยและบริการวิชาการ สำนักงานคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ (นางสาวจิราภรณ์ กันทะใจ) 0-539-21444 ต่อ 1236 หรือ researcheng2019@gmail.com
เสนอชื่อนักวิจัยดีเด่น